Development This website is under active development. Any information you see has not yet been validated.

They Work For Us

ใครคือผู้แทนของเรา

ค้นหา ตรวจสอบ โปร่งใส

ค้นประวัติบุคคล

รู้หน้า รู้ชื่อ แต่ไม่รู้จัก ลองค้นหาประวัติผู้แทนในสภาของเรากันดู

ดูภาพรวมพรรคการเมือง

ใครอยู่ทีมไหน เห็นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ลองดูภาพรวมของแต่กลุ่ม

สรุปการลงคะแนนเสียง

ใครหนุน ใครค้าน ดูการโหวตครั้งสำคัญในสภา พร้อมอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ

เกี่ยวกับเรา

สัดส่วนผู้แทนของเรา พวกเขาเป็นใครบ้าง

0.00%ของผู้แทนทั้งหมด

สรุปผลการลงมติล่าสุด

43% เห็นด้วย

ตั้ง กมธ. วิสามัญ ศึกษาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดการรัฐประหารขึ้นอีกในอนาคต

จากกรณี ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน ยกประเด็นว่าการรัฐประหาร 2 ครั้งล่าสุดเป็นต้นเหตุของการเกิดวิกฤติการการเมือง ที่ผ่านมาประเทศไทยไม่ใช้วิถีทางประชาธิปไตยในการแก้ไขปัญหาการเมือง แต่กลับใช้การรัฐประหาร เกิดการแตกขั้วทำลาย ความชอบธรรมจากการเลือกตั้งและความชอบธรรมจากการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ดังนั้นจึงอยากให้พิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหารขึ้นอีกในอนาคต ประกาศศักดิ์ศรีของผู้แทนราษฎรว่าจะไม่ยอมจำนนต่อคณะรัฐประหาร และไม่ใช่ผู้แทนของคณะรัฐประหาร อีกทั้งญัตตินี้ไม่มีผลต่อความมั่นคงของรัฐบาล ไม่กระทบการทำงานของรัฐบาลที่ยังบริหารงานต่อไปได้ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเสียงข้างมาก 242 เสียง ไม่เห็นชอบให้มีการตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทางป้องกันรัฐประหารฯ ดังกล่าว โดยมีผู้เห็นชอบจำนวน 216 เสียง งดออกเสียง 2 ราย จากจำนวนผู้เข้าประชุม 460 ราย

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 216
ไม่เห็นด้วย 242
งดออกเสียง 2
ไม่ลงคะแนน 38
20.2.2020

2% เห็นด้วย

ตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษาโครงการจัดตั้งกระทรวงการข้าว

ด้วยปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่กลับมีฐานะยากจนและถูกเอารัดเอาเปรียบมาโดยตลอด อีกทั้งการบริหารจัดการข้าวในอดีตเป็นภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของหลายหน่วยงาน ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการข้าวได้อย่างมีระบบและครบวงจร จนเกิดช่องว่างระหว่างภาคการผลิต การแปรรูป และการจำหน่าย ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และความมั่นคงของประเทศ จึงมีญัตติขอเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการจัดตั้งกระทรวงการข้าว แต่เนื่องจากสมาชิกมีความเห็นต่าง ให้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ ประธานได้ขอมติที่ประชุม ซึ่งที่ประชุมลงมติเห็นด้วย 343 เสียง ให้ส่งคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ต่อไป

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 10
ไม่เห็นด้วย 343
งดออกเสียง 2
ไม่ลงคะแนน 142
16.1.2020

71% เห็นด้วย

ตั้ง กมธ. วิสามัญ ตรวจสอบโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่

จากกรณีที่สังคมตั้งคำถามว่า การก่อสร้างรัฐสภาใหม่ ที่สำนักงานเลขาธิการสภาฯ ว่าจ้างบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท สัญญาหลัก 900 วัน ที่ต้องแล้วเสร็จ 24 พ.ย. 2558 นั้น มีเหตุผลอย่างไรที่ทำการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จและต้องต่อสัญญาไปอีก 4 ครั้ง ทำให้รวมเวลาก่อสร้างอาคารทั้งหมดกว่า 2,000 วัน ทั้งนี้ มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุผลที่อ้างเพื่อขยายสัญญาก่อสร้างให้ผู้รับจ้างนั้น เพราะมีการแก้ไขแบบ ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถแก้ไขแบบได้โดยใช้เวลาไม่นาน มีเจตนาทำให้แบบมีปัญหาหรือไม่ เพื่อใช้เป็นข้ออ้างให้ผู้ว่าจ้างขยายสัญญาโดยผู้รับจ้างไม่ได้กระทำผิดกฎหมาย ที่ประชุมสภาฯ มีมติเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ 354 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง โดยมีกรอบระยะเวลาดำเนินงาน 60 วัน ทั้งนี้ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ได้แจ้งให้ทราบด้วยว่า ตนให้เลขาธิการสภาฯ ศึกษากระบวนการใช้พื้นที่อาคารรัฐสภา ซึ่งเป็นเรื่องของการเตรียมการไว้ในอนาคตด้วย

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 354
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 2
ไม่ลงคะแนน 142
21.12.2019

83% เห็นด้วย

ตั้ง กมธ.วิสามัญ ตรวจสอบละเมิดสิทธิมนุษยชน

จากกรณีการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและถูกประทุษร้ายของประชาชน โดยเฉพาะปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ส.ส. หลายพรรคเห็นว่าเกิดจากข้อผิดพลาดเรื่องการกำหนดนโยบายรัฐบาลทั้งอดีตและปัจจุบัน รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่มีการละเมิดสิทธิการเคลื่อนไหวการต่อสู้ เพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญทั่วประเทศนั้นก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่กลับหาตัวผู้ทำผิดหรือผู้อยู่เบื้องหลังมาลงโทษไม่ได้ สภาผู้แทนราษฎร จึงเห็นชอบตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อตรวจ สอบและศึกษา ติดตามการทำงานของหน่วยงานภาครัฐต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและถูกประทุษร้ายของประชาชน เพื่อตรวจสอบและติดตาม

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 411
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 2
ไม่ลงคะแนน 84
19.12.2019

1% เห็นด้วย

ตั้ง กมธ.วิสามัญ ศึกษาผลกระทบจาก ม. 44

จากญัตติด่วนให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบจาก ม.44 ที่คงอยู่หลังช่วงรัฐประหาร ในวันที่ 27 พ.ย. 2562 ที่ประชุมได้ลงมติให้ตั้ง กมธ. วิสามัญเพื่อพิจารณาญัตติดังกล่าว ผลการลงมติ เห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 236 เสียง ไม่เห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 231 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง แต่นายวิรัช รัตนเศรษฐ (พรรคพลังประชารัฐ) เสนอญัตติขอให้นับคะแนนใหม่ โดยมีผู้รับรองถูกต้อง นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งต่อที่ประชุมว่าสมาชิกสามารถใช้สิทธิให้นับคะแนนใหม่ได้ ตามข้อบังคับฯ ข้อ 85 โดยเปลี่ยนวิธีการนับคะแนนใหม่เป็นวิธีเรียกชื่อสมาชิกตามหมายเลขประจำตัวสมาชิก ตาม ข้อบังคับฯ ข้อ 83 (2) ซึ่งพรรคร่วมฝ่ายค้านได้อภิปรายไม่เห็นด้วย และมีการเดินออกจากห้องประชุม (walk out) ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ ญัตติดังกล่าวได้รับการพิจารณาอีกครั้งในวันรุ่นขึ้น แต่ก็ไม่ครบองค์ประชุม เพราะฝ่ายค้านขอคงจุดยืนไม่ร่วมนับใหม่ ทำให้ไม่สามารถลงมติได้ ญัตติดังกล่าว ได้รับการพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 4 ธันวาคม 2562 ผลการนับคะแนนปรากฎว่า ที่ประชุมลงมติเห็นด้วย 5 คน ไม่เห็นด้วย 244 คน และงดออกเสียงอีก 6 คน ทำให้ที่ประชุมมีมติ ไม่ตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษาผลกระทบจากประกาศ และคำสั่งของ คสช. และการใช้อำนาจของหัวหน้าคสช. ตามมาตรา 44

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 5
ไม่เห็นด้วย 244
งดออกเสียง 6
ไม่ลงคะแนน 243
4.12.2019

48% เห็นด้วย

ขอถอนญัตติ ตั้ง กมธ. วิสามัญ ศึกษาผลกระทบกฎอัยการศึก และพรก.ฉุกเฉินในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 240
ไม่เห็นด้วย 78
งดออกเสียง 150
ไม่ลงคะแนน 30
27.11.2019
ดูทั้งหมด

สำรวจตามชนิดและสังกัดผู้แทน

คณะรัฐมนตรี

36 คน

สมาชิกวุฒิสภา

250 คน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ดู ส.ส. ทั้งหมด